วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัดนาริตะ ซัน


วัด นาริตะ ซัน ชินโชจิ เป็น หนึ่งในวัดที่เป็นที่รู้จัก มากที่สุดในภูมิภาคคันโต มีอายุกว่า 700 ปี อาคารหลักเป็นสถานที่สำหรับ สักการะบูชา ภายในก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมพุทธแบบอินเดียโดยยังคง เอกลักษณ์ ของศิลปะแบบญี่ปุ่นเอาไว้ วัดแห่งนี้เป็นสำนักงานใหญ่ของโรงเรียนสอนศาสนา ลัทธิชินกอน สร้างขึ้นโดยเจ้าคณะคันโจ ในปี 940 ซึ่งเป็น 1 ใน 3 วัดหลักของลัทธิคันโต ที่ได้สร้างขึ้นอุทิศแด่ศาสนาพุทธให้กับ เทพเจ้าฟูดูเมียวโอะ ซึ่งเป็น เทพเจ้าแห่งไฟ ให้ทุกท่านได้เข้านมัสการ ขอพรองค์พระพุทธรูป เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมเลือกซื้อวัตถุมงคลภายในวัด

วัดอาซากุสะ คันนอน และ ถนนนาคามิเซะ


วัดอาซากุสะคันนอน ในสมัยก่อนนั้นใช้เป็นที่สักการะ ขอพรจากเทพเจ้าคันนอนจากเหล่าซามูไรและโชกุน และพรก็มักจะประสบผลอยู่เสมอ ทำให้เหล่าโชกุนและเหล่าซามูไรมีความเลื่อมใสในวัดแห่งนี้เป็นอย่างมาก การสักการะบูชาเทพเจ้าคันนอนนั้น ก่อนอื่นต้องชำระร่างกายให้สะอาดด้วยกระถางน้ำด้านข้างของอาคาร และจุดธูปไปปักไว้กระถางธูปขนาดใหญ่ตรงกลางวัด ซึ่งเป็นความเชื่อว่า ถ้าได้รับกลิ่นควันธูปนี้ติดตัวมา จะโชคดีมีสุข ส่วนอื่นก็จะมีการทำบุญไหว้พระ ด้วยการโยนเหรียญลงในกล่อง (เขาว่ากันว่า ถ้าโยนเหรียญแล้วเหรียญไม่โดนไม้ที่กั้นอยู่ คำอธิฐานของเราจะเป็นจริง ดังนั้นชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะค่อยๆ ปล่อยเหรียญลงไป ไม่โยน) แล้วตบมือเบาๆ 2 ครั้ง และอธิษฐานเป็นอันจบพิธีไหว้พระแบบญี่ปุ่น

จุดเด่นของวัดอาซากุสะคันนอน นั่นก็คือโคมไฟสีแดงขนาดใหญ่ ที่แขวนอยู่ที่บริเวณประตู “คามินาริมง” หรือ ประตูฟ้าฟาด ทั้งสองข้างของโคมแดงจะเป็นรูปปั้นของ 2 ผู้รักษาประตู ได้แก่ ฟูจิน เจ้าแห่งสายลม และ ไรจิน เจ้าแห่งสายฟ้า วัดอาซากุสะยังมีเครื่อง รางต่างๆ ให้เราบูชาอีกมากมาย รวมทั้งร้านของที่ระลึก ร้านขนมญี่ปุ่นให้ท่านทำการช็อปปิ้งอีกด้วย

ย้อนเวลาสัมผัสชีวิตชาวญี่ปุ่นในอดีตที่หมู่บ้านอิยาชิ โนะ ซาโตะ



หมู่ บ้านอิยาชิ โนะ ซาโตะ นั้นเดิมทีเป็นหมู่บ้านของชาวนา โดยเน้นการทำการเกษตรแบบพอเพียงเป็นหลัก ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำไซโกะ ณ เชิงภูเขาไฟฟูจิ

ในปี 1966 หมู่บ้านแห่งนี้ถูกดินถล่มทับ 40 ปีต่อมาได้ถูกสร้างและบูรณะใหม่ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ out door ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิต อาชีพการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วยมือ ของชาวญี่ปุ่นยุคโบราณ บ้านลักษณะเก่าแก่กว่า 20 หลังถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นร้านค้า พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ที่น่าสนใจคือบ้านที่รับถ่ายรูป ยังมีบริการชุดกิโมโนและชุดซามูไรไว้ให้คุณได้ใส่ ถ่ายไปลงเฟสบุคเท่ๆอีกด้วย ซึ่งผู้ที่มาทัวญี่ปุ่น โตเกียว ควรแวะมาที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นอย่างยิ่งเพื่อจะได้สัมผัสกับความเป็น ญี่ปุ่นอย่างแท้จริง และซื้อสินค้าทำมือเอกลักษณ์เฉพาะของชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนติดไม้ติดมือกับมา ฝากเพื่อนหรือญาติที่เมืองไทย

อุทยานฮาโกเน่ ล่องเรือโจรสลัดทะเลสาบอาชิ , แวะหุบเขานรกโอวาคุดานิ



อุทยานฮาโกเน่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ท่านต้องมาสัมผัสให้ได้หากได้มาเที่ยวญี่ปุ่น อุทยาฮาโกเน่นั้นอยู่ไม่ไกลนักจากโตเกียว ห่างจากกรุงโตเกียวไม่ถึง 100 กิโลเมตร อุทยานฮาโกเน่มีชื่อเสียงโด่งดังมากจาก บ่อน้ำพุร้อนที่มีกระจ่ายอยู่ทั่วอุทยานแห่งนี้ แถมท่านยังสามารถชมวิวอันสวยงามของภูเขาไฟฟูจิอย่างชัดเจนได้จากอุทยานฮาโก เน่ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นอุทยาฮาโกเน่ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น โอวาคุดานุเป็นจุดที่อยู่ที่พื้นที่ที่มีการระเบิดของภูเขาไฟฮาโกเน่เมื่อ 3000 ปีก่อน เป็นจุดที่มีน้ำพุร้อนและแม่น้ำที่มีน้ำร้อนๆให้ได้สัมผัสกัน แถมยังเป็นจุดที่ยอดเยี่ยมในการชมวิวของภูเขาไฟฟูจิอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆจุดที่น่าสนใจของอุทยานแห่งนี้ เช่น อุทยานกลางแจ้ง, แมน้ำอชิโนกะ, พิพิธภัณฑ์โพล่า, สวนพฤกษาฮาโกเน่ และอีกหลายๆที่ เรียกว่าเที่ยวกันวันเดียวคงไม่ครบแน่ๆ หากท่านมากับเที่ยวญี่ปุ่นของทางวันเดอร์ฟูรับรองว่าท่านจะได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าในอุทยานฮาโกเน่อย่างแน่นอน

  • ล่องเรือโจรสลัดผ่านทะเลสาบอาชิ ทะเลสาบที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อ 3000 ปีที่แล้ว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆหากคุณได้ไปเที่ยวอุทยานฮาโกเน่ที่ โตเกียว
  • โอวาคุดานิ หรือ หุบเขานรก ภูเขาไฟที่ยังครุกรุ่นรอการปะทุ มีบ่อน้ำพุหลายจุดในบริเวณนี้ แถมยังมีกลินอายของกำมะทันจากไอน้ำหละควันที่มาจากบ่อน้ำพุร้อนในบริเวณนี้ อีกด้วย แถมในหุบเขานรกนี้ยังมีเรื่องเล่าขานกันว่า หากนำไข่ไปต้มจนกลายเป็นสีดำและได้กินไข่ใบนั้น จะทำให้อายุยืนขึ้นถึง 7 ปี

ชมทุ่งดอกลาเวนเดอร์ ณ ฟุระโนะ


เมืองฟุระโนะ ตั้งอยู่ใจกลางฮอกไกโดพอดี เป็นที่รู้จักกันในนามทุ่งดอกไม้ที่มีภูเขาล้อมรอบไว้ ทำให้ที่นี่มีความแตกต่างของอากาศในช่วงฤดูหนาวกับฤดูร้อนราว 30 องศา และที่สำคัญที่นี่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวทั้งในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว ในหน้าร้อนจะมีสวนดอกไม้ที่สวยงาม โดยเฉพาะที่ ฟาร์มโทมิตะ ซึ่งมีการปลูกลาเวนเดอร์ที่ทั้งสวยงามและกว้างใหญ่ไพศาล รวมทั้งดอกไม้อื่น ๆ โดยที่นี่จะมีนักท่องเที่ยวมากในช่วงปลายเดือนมิถุนายนจนกระทั่งกลางเดือนกันยายน ส่วนในช่วงฤดูหนาวที่นี่จะปกคลุมไปด้วยหิมะหนามาก ทำให้กลายเป็นลานสกีที่มีชื่อเสียง และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับลานสกีในช่วงกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนมีนาคมของทุกปี

ฮอกไกโด


ฮอกไกโด (Hokkaido) เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ถือเป็นสวรรค์ของธรรมชาติ สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี มีธรรมชาติที่ยังไม่ถูกทำลาย ทั้งภูเขา ที่ราบสูง แม่น้ำ ทะเลสาบ บ่อน้ำพุร้อน และชายฝั่งทะเล มีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว มีหิมะที่ขาวละเอียดดุจแป้งฝุ่นและสกีรีสอร์ท ที่ดึงดูดนักเล่นสกีจากทั่วโลก ขณะที่ในฤดูใบไม้ผลิ ซากุระจะบานช้ากว่าภูมิภาคอื่นในญี่ปุ่น สามารถชมซากุระได้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนเหมือนส่วนอื่น ๆ เพราะมีทุ่งดอกไม้ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง และในฤดูใบไม้ร่วงใบไม้จะเปลี่ยนสีก่อนที่อื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนจนถึงตุลาคม
โดยมี เมืองซัปโปโร (Sapporo) เป็นเมืองหลวงของฮอกไกโด ซึ่งในซัปโปโรมี สวนสาธารณะโอโดริ ซึ่งเป็นที่จัดแสดงงานเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาชมงานในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ ยังมีหอนาฬิกาอันเก่าแก่ และที่ว่าการเมืองฮอกไกโด อีกทั้งย่านร้านค้าซุซุกิโนะ ซึ่งเป็นศูนย์การค้า และแหล่งจับจ่ายซื้อของที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้
เมืองฮะโกะดะเตะ (Hakodate) เป็นเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของฮอกไกโด ในยามเช้าสามารถเที่ยวตลาดสดขายอาหารทะเลสด ๆ ที่มีให้ชิม ยามสายเที่ยวชมโบสถ์ และป้อมปราการโบราณในเมือง ยามเย็นนั่งกระเช้าลอยฟ้าขึ้นไปบนเขาฮะโกะดะเตะ ชมทิวทัศน์ยามราตรีที่สวยงามได้รอบทิศ ด้านเมืองอะซะฮิกะวะ (Asahikawa) ตั้งอยู่ใจกลางเกาะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองซัปโปโร ใช้เวลาเดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งโดยรถไฟด่วนจากเมืองซัปโปโร และจากเมืองอะซะฮิกะวะไปทางตะวันออกจะมี อุทยานแห่งชาติไดเซะทสุซัง ซึ่งมี บ่อน้ำแร่โซอุนเกียว ให้เพลิดเพลินในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี
นอกจากนี้ ฮอกไกโดยังมีธรรมชาติอันสวยงามที่เป็นชายฝั่งทะเลใกล้ เมืองอะบะชิริ (Abashiri) มีธารน้ำแข็งให้ชมในฤดูหนาว และ คาบสมุทรชิเระโตะโกะ (Shiretoko) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติด้วย อีกทั้งทะเลสาบอะคัง ทะเลสาบมาชูและ ทะเลสาบคุชิโระ และทางตะวันตกของฮอกไกโดมีเมืองโอะตะรุ (Otaru) เป็นเมืองท่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองค้าขาย ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 รอบ ๆ เมืองจะมีคลองโอะตะรุ เป็นโบราณสถาน แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยบุกเบิก มีถนนร้านซูชิที่สดที่สุดในโลกให้ลองลิ้มชิมรส

หมู่บ้านประวัติศาสตร์ชิราคาวาโกะ


ชิราคาวาโกะ (Shirakawako) หมู่บ้านท่ามกลางหุบเขา ตั้งอยู่ในจังหวัดกิฟุ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ในประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นหมู่บ้านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น หลังคามุงด้วยฟางข้าว สร้างขึ้นด้วยมือที่เรียกว่า การสร้างบ้านแบบ กัตโชทสึคุริ (Gassho-zukuri) เป็นบ้านชาวนาโบราณที่มีอายุมากกว่า 250 ปี คำว่า "กัสโช" หมายความว่า พนมมือ ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงลักษณะรูปแบบของบ้านที่มีหลังคามุงด้วยฟางข้าวชันถึง 60 องศา คล้ายสองมือที่พนมเข้าหากัน มุงแบบลาดลงคล้ายหน้าจั่ว เพื่อให้ทนทานต่อหิมะและลมในฤดูหนาว ตัวบ้านมีความยาวประมาณ 18 เมตร และมีความกว้าง 10 เมตร สร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปู ซึ่งบางแห่งสามารถเข้าพักค้างคืนได้ แถมยังเป็นกิจการที่เปิดภายในครัวเรือนที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เห็นการใช้ชีวิตแบบดั่งเดิมของชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง

ศาลเจ้าฟูชิมิอินารี



ศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ (ญี่ปุ่น: 伏見稲荷大社 ฟุชิมิ อินะริ-ไทฉะ ?) เป็นศาลเจ้าชินโตของเทพอินะริ อันเป็นเทพแห่งกสิกรรม ตั้งอยู่ในเขตฟุชิมิ นครเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้านี้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ตัวศาลเจ้าตั้งอยู่บนพื้นที่เชิงเขาที่ระดับความสูง 233 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งภูเขาก็มีนามเดียวกันคือภูเขาอินะริ ซึ่งรอบๆเชิงเขานี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าเล็กๆอีกมากมายตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเดินเท้าและเยี่ยมชมได้โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง [1]

ตั้งแต่ยุคโบราณ ชาวญี่ปุ่นนับถือเทพอินะริในด้านการอุปถัมภ์ค้ำชูและส่งเสริมความเจริญในการงานและกิจการ ซึ่งความศรัทธานี้ยังคงอยู่จนตราบจนปัจจุบัน บรรดาเสาโทะริอิที่มากมายของศาลเจ้าแห่งนี้นั้น ล้วนเป็นศรัทธาจากบริษัท, ห้างร้าน, โรงงานในญี่ปุ่น ซึ่งแต่ละต้นจะมีการจารึกผู้บริจาคไว้

ศาลเจ้าแห่งนี้ถือเป็นศาลใหญ่ (大社 ไทฉะ) อันเป็นต้นสังกัดของบรรดาศาลเจ้าลูก (分社 บุนฉะ) ที่บูชาเทพอินะริ ซึ่งทั่วประเทศญี่ปุ่นมีอยู่กว่า 32,000 แห่ง [2]


ศาลาใหญ่ (ไฮเด็ง)

จุดเริ่มต้นของทางวงกตโทะริอิ
ประวัติ
ต้นยุคเฮอัง ศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ อยู่ภายใต้พระราชูปถัมภ์ขององค์จักรพรรดิ ใน พ.ศ. 1508 จักรพรรดิมุระกะมิ ทรงบัญชาให้มีการขึ้นบัญชีเหตุการณ์สำคัญของเทพารักษ์แผ่นดิน ซึ่งในบัญชีนี้ ในขั้นต้นกล่าวถึงศาลเจ้า 16 แห่ง ซึ่งศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ ก็เป็นหนึ่งในนั้น[3]

ในยุคจักรวรรดิญี่ปุ่น ศาลเจ้าฟุชิมิ อินะริ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งใน คันเป-ไทฉะ (官幣大社) หมายถึงศาลเจ้าเอกซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลพระจักรพรรดิ[4]

ปราสาทนิโจ


ปราสาทนิโจ (ญี่ปุ่น: 二条城 Nijō jō ?) เป็นปราสาทสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยป้อมปราการที่เรียงตัวเป็นวงแหวนสองชั้น พระราชวังนิโนะมะรุ ซากพระราชวังฮนมะรุ และอาคารอื่นกับสวนอุทยานอีกหลายแห่ง อาณาบริเวณของปราสาทมีพื้นที่ทั้งหมด 275,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ที่อาคารสร้างทับอยู่ 8,000 ตารางเมตร

เมืองนะโงะยะ


เมืองนะโงะยะ (ญี่ปุ่น: 名古屋市 Nagoya-shi นะโงะยะชิ ?) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ในภูมิภาคจูบุ ตอนกลางของเกาะฮนชู เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดไอจิ และเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น

เมืองนะโงะยะได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2432 และได้รับการยกระดับเป็นมหานครตามเทศบัญญัติในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2499

ซัปโปะโระ



ซัปโปะโระ (ญี่ปุ่น: 札幌 ซัปโปะโระ ?; ไอนุ: サッ ・ポロ ・ペッ ซัตโปโรเพต) เป็นศูนย์กลางของกิ่งจังหวัดอิชิกะริ ในจังหวัดฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางความเจริญของเกาะ และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองใหม่ที่สุดในญี่ปุ่น มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน แต่เมื่อปี ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400) มีประชากรยุคบุกเบิกเพียง 7 คน

ในช่วงต้นของยุคเมจิ ขณะนั้นเพิ่งเริ่มก่อตั้งเขตการปกครองฮกไกโด และซัปโปะโระถูกเลือกเป็นศูนย์กลางการจัดการและพัฒนา ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกา ทำให้ซัปโปะโระถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานแบบอเมริกาเหนือ จึงมีการสร้างระบบถนนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ซัปโปะโระเคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว 1972 โดยในปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นเมืองท่องเที่ยว ร้านบะหมี่ญี่ปุ่นหรือราเม็ง โรงเบียร์ซัปโปะโระ และเทศกาลหิมะซัปโปะโระที่จัดขึ้นทุกปีราวเดือนกุมภาพันธ์

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของซัปโปะโระ คือภูเขา โมะอิวะ เป็นยอดเขาสูง 531 เมตร [1] ที่เป็นจุดชมวิวของเมือง ที่เดินป่า ดูนก และลานสกี (Ski Jo)ในฤดูหนาว

โคเบะ



โคเบะ (ญี่ปุ่น: 神戸市 Kōbe-shi ?) หรือ โกเบ เป็นเมืองเอกของจังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับที่ 5 และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางฝั่งใต้ของเกาะฮนชู ห่างจากเมืองโอซะกะไปทางตะวันตกประมาณ 30 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคนและเป็นส่วนหนึ่งของมหานครเคฮันชิง

โคเบะปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในพงศาวดารนิฮงโชะกิที่กล่าวถึงการก่อตั้งศาลเจ้าอิกุตะโดยพระจักรพรรดิจิงกูเมื่อ ค.ศ. 201[2] โคเบะไม่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากนัก แม้แต่เมื่อครั้งที่ท่าเรือโคเบะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในสมัยเอะโดะ จนกระทั่งมีการก่อตั้งเมืองขึ้นในปี ค.ศ. 1889 ในชื่อเมือง "คันเบะ" (神戸) เพื่อระลึกถึงผู้บริจาคในการสร้างศาลเจ้าอิกุตะ[3] จากนั้น ในปี ค.ศ. 1956 รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งให้โคเบะเป็นหนึ่งในเมืองของประเทศที่มีเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ

โคเบะเป็นเมืองท่าที่สำคัญของญี่ปุ่นที่มีการค้าขายกับทางประเทศตะวันตกนับตั้งแต่การยกเลิกนโยบายปิดประเทศ ในปี ค.ศ. 1995 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้เมืองโคเบะได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ก็สามารถซ่อมแซมบูรณะจนกลายมาเป็นเมืองท่าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งได้ บริษัทหลายๆแห่งได้ตั้งสำนักงานใหญ่ที่โคเบะ และเมืองนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องของเนื้อโคเบะอีกด้วย

ซูว็อน

ซูว็อน (ฮันกึล: 수원, ฮันจา: 水原, เสียงอ่าน: [suwʌn]) เป็นเมืองเอกของจังหวัดคย็องกี เป็นหนึ่งในเมืองสำคัญของเกาหลีใต้มีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน ซูว็อนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของโซล โดยห่างจากโซลประมาณ 30 กิโลเมตร
ซูว็อนเป็นเมืองที่ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมโบราณของเกาหลี โดยเริ่มจากการเป็นหมู่บ้านเล็กๆจนในปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมที่สำคัญของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน โดยซูว็อนเป็นเมืองเดียวในเกาหลีใต้ที่ยังคงมีกำแพงเมืองที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่ โดยกำแพงเมืองนี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักที่นักท่องเที่ยวอยากมาชมของจังหวัดคย็องกี เช่นเดียวกับการเป็นเมืองอุตสาหกรรม ซูว็อนเป็นที่ตั้งของโรงงานใหญ่ของซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ซูว็อนมีทางด่วนสองสาย, เครือข่ายรถไฟของชาติและรถไฟไต้ดินของนครพิเศษโซล ซึ่งทำให้เกิดความสะดวกในการเดินทาง การท่องเที่ยว และการขนส่ง
ซูว็อนถือเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยถึง 11 แห่ง จากสิ่งนี้พร้อมด้วยเครือข่ายการขนส่งมวลชนสามารถดึงดูดผู้อยู่อาศัยจากทั่วประเทศและชาวต่างประเทศเป็นจำนวนประชากรถึง 1.85%[1]
ซูว็อนยังมีสโมสรฟุตบอลที่มีเชื่อเสียงอย่างซูว็อนซัมซุงบลูวิงส์ ซึ่งเป็นแชมป์เค-ลีก 4 สมัย[2] และเป็นแชมป์เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2 สมัย

ฮะโกเนะ

ฮะโกเนะ (ญี่ปุ่น: 箱根町 Hakone-machi ?) เป็นเมืองหนึ่งในเขตอาชิงาระชิโมะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณเชิงทิวเขาฮาโกเนะด้านตะวันออก

จากการสำรวจในปี 2003 เมืองนี้มีประชากร 14,872 คน และมีความหนาแน่นของประชากรเท่ากับ 160.22 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 92.82 ตารางกิโลเมตร

การท่องเที่ยว
เมืองฮาโกเนะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้มาเยือนเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศเดินทางมาเพื่อพักผ่อนตามรีสอร์ทและสปา หรือเพื่อเยี่ยมชมทิวทัศน์ภูเขาที่รายรอบเมือง

ภายในอุทยานแห่งชาติฟูจิ ฮาโกเนะ อิสุ ซึ่งมีอาณาเขตอยู่รอบๆทะเลสาบอาชิ มีชื่อเสียงในด้านแหล่งสปาน้ำพุร้อนซึ่งเกิดจากความร้อนของภูเขาไฟ รวมทั้งยังมีทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิที่สวยงาม

สถานที่น่าสนใจอื่นๆ ยังมีหุบเขาน้ำเดือด และศาลเจ้าฮาโกเนะที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบอาชิ ในเดือนเมษายนจะมีดอกซากุระบานสะพรั่งเต็มสวนในศาลเจ้า


วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ปราสาทฮิเมะจิ

ปราสาทฮิเมะจิ (ญี่ปุ่น姫路城 Himeji-jo, Himeji Castle ?) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมะจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ปราสาทฮิเมะจิได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2536ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมะสึโมะโตะ และปราสาทคุมะโมะโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า ปราสาทนกกระสาขาว ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมะจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก

Himeji Castle The Keep Towers.jpg

ปราสาทโอซะกะ

ในปี ค.ศ. 1583 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ สั่งให้มีการก่อสร้างปราสาทโอซะกะที่บริเวณวัดอิชิยะมะฮงกัน โดยนำแบบแปลนมาจากปราสาทอะซุชิ อันเป็นศูนย์บัญชาการหลักของโอะดะ โนะบุนะงะ โทะโยะโตะมิต้องการจะสร้างให้เหมือนกับปราสาทอะซุชิ แต่สุดท้ายแล้วกลับโดดเด่นกว่า โดยหอคอยหลักมี 5 ชั้น และมีชั้นใต้ดินอีก 3 ชั้น มีใบไม้ทองที่ด้านข้างของปราสาท ทำให้ตัวปราสาทสวยงามโดดเด่นประทับใจผู้พบเห็น ในปี ค.ศ. 1585 เมื่อตัวปราสาทแล้วเสร็จ โทะโยะโตะมิจึงเริ่มแผนขยายตัวปราสาทเพิ่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก จนประทั่งในปี ค.ศ. 1597 การก่อสร้างได้แล้วเสร็จและฮิเดะโยะชิได้เสียชีวิตลง ตัวปราสาทจึงตกเป็นของบุตรของฮิเดะโยะชิ คือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ
ในปี ค.ศ. 1600 โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ปราบศัตรูลงได้ในยุทธการเซะกิงะฮะระและเริ่มจัดตั้งรัฐบาลบะกุฟุที่เอะโดะ ในปี ค.ศ. 1614 โทะกุงะวะเริ่มโจมตีกองกำลังของฮิเดะโยะริในช่วงหน้าหนาวจนเข้าสู่ยุทธการการล้อมโอซะกะ[2] แม้กองกำลังของโทะโยะโตะมิมีจะน้อยกว่ากองกำลังของโทะกุงะวะเกือบครึ่งหนึ่ง แต่ก็สามารถต้านทานทัพ 200,000 นายของโทะกุงะวะและรักษากำแพงเมืองเอาไว้ได้
ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1615 ฮิเดะโยะริเริ่มขุดคูเมืองรอบนอกเพิ่มขึ้นอีกชั้น โทะกุงะวะจึงได้ส่งกองกำลังของตนไปโจมตีปราสาทโอซะกะอีกครั้งหนึ่งและสามารถเจาะกำลังทหารของโทะโยะโตะมิเข้าไปในกำแพงเมืองได้เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ปราสาทโอซะกะจึงตกเป็นของโทะกุงะวะ และตระกูลโทะโยะโตะมิก็ถึงคราอวสาน
ในปี ค.ศ. 1620 โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ โชกุนคนที่ 2 แห่งตระกูลโทะกุงะวะ เริ่มบูรณะและสร้างปราสาทโอซะกะขึ้นมาใหม่ ยกระดับหอคอยให้สูงขึ้น ภายนอกมี 5 ชั้น ภายในมี 8 ชั้น ก่อสร้างกำแพงใหม่ให้เป็นเกียรติแต่ตระกูลซะมุไรแต่ละคน กำแพงในสมัยนั้นยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้โดยนำหินมาจากทะเลเซะโตะใน และสลักยอดด้วยชื่อของตระกูลที่อุทิศให้กับการสร้างกำแพงเหล่านี้
ในปี ค.ศ. 1660 เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่คลังแสงเป็นผลให้เกิดระเบิดและไฟไหม้ตัวปราสาท จากนั้นในปี 1665 เกิดฟ้าผ่าทำให้ตัวปราสาทหลักได้รับความเสียหายและพังลงมา
หลังถูกปล่อยทิ้งร้างมานาน รัฐบาลบะกุฟุต้องการจะซ่อมตัวปราสาทซึ่งมีส่วนให้ต้องซ่อมอีกมาก ในปี 1843 รัฐบาลจึงได้เรี่ยไรเงินจากประชาชนในท้องถิ่นเพื่อสร้างคอคอยขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
ในปี ค.ศ. 1868 ปราสาทโอซะกะถูกล้อมด้วยกองกำลังจักรพรรดิต่อต้านรัฐบาลบะกุฟุ และตัวปราสาทก็ถูกเผาในสงครามกลางเมืองสมัยการปฏิรูปเมจิ
ต่อมา รัฐบาลเมจิได้ให้ปราสาทโอวะกะเป็นคลังแสงผลิตปืน อาวุธยุทธภัณฑ์ และระเบิด เพื่อขยายขีดความสามารถทางการทหารของญี่ปุ่นในแบบฉบับของตะวันตก[3]
ในปี ค.ศ. 1928 ได้มีการสร้างหอคอยหลักขึ้นมาใหม่หลังจากที่เทศบาลเมืองโอซะกะสามารถระดมทุนจากประชาชนมาจำนวนมาก
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คลังแสงกลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของญี่ปุ่น มีคนงานกว่า 60,000 คน และเป็นเป้าหมายการโจมตีทางอากาศของฝ่ายพันธมิตรด้วย ทำให้ปราสาทโอซะกะเสียหายอย่างหนักในช่วงท้ายสงครามเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 จากการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ คลังแสงเสียหายไปร้อยละ 90 และคนงานเสียชีวิต 382 คน
ในปี ค.ศ. 1995 เทศบาลนครโอซะกะเริ่มต้นโครงการบูรณะปราสาทโอซะกะอีกครั้ง โดยให้ภายนอกยังคงความเป็นยุคเอะโดะ แผนการบูรณะแล้วเสร็จในปี 1997 ตัวปราสาทมีความทันสมัยขึ้นมาก มีลิฟต์ติดตั้งภายในและมีสิ่งอำนวยความสะดวกแบบสมัยใหม่มากมาย

Osaka Castle Nishinomaru Garden April 2005.JPG

วัดโท

วัดโท (ญี่ปุ่น東寺 To-ji โทจิ ?) เป็นวัดพุทธในสายชินงอน ตั้งอยู่ในเมืองเคียวโตะ ชื่อของวัดมีความหมายว่า วัดตะวันออก ในอดีตเคยมีวัดไซจิ หรือวัดตะวันตก อยู่เป็นคู่กัน ทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ข้างประตูราโช ซึ่งเป็นประตูเมืองของเมืองหลวงเฮย์อัน มีชื่อที่เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการว่า Kyō-ō-gokoku-ji ชื่อนี้บ่งชี้ว่าในอดีตเป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอยปกป้องคุ้มครองประเทศชาติ วัดโทนี้ตั้งอยู่ในเขตมินามิ ใกล้กับทางแยกที่ถนนโอมิยะตัดกับถนนคุโจ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสถานีรถไฟเกียวโต
วัดโทสร้างขึ้นเมื่อปี 796 สองปีหลังจากที่ย้ายเมืองหลังมายังเฮย์อัน หรือเกียวโตในปัจจุบัน ในปี 823 พระโคโบะ ไดชิ หรือคุไค ได้เข้ามาดำเนินการต่อเติมและพัฒนาวัดตามพระบัญชาของจักรพรรดิซางะพระประธานของวัดคือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (Yakushi Nyorai) หรือพระพุทธเจ้าหมอ
อาคารโบราณในวัดโท
เจดีย์ของวัดโทมีความสูง 57 เมตร จัดว่าเป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น ประวัติความเป็นมาย้อนหลังไปได้ตั้งแต่สมัยเอโดะ เมื่อครั้งที่เจดีย์ถูกสร้างขึ้นใหม่ตามคำสั่งของอิเอมิตสึ โชกุนรุ่นที่ 3 แห่งตระกูลโทคุงาวะ ปัจจุบันเจดีย์นี้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองเกียวโต ทางเข้าสู่ภายในเจดีย์จะเปิดให้เข้าชมเพียงไม่กี่วันในแต่ละปี
อาคารต่างๆของวัดโทเป็นสถานที่เก็บรักษาพระพุทธรูปโบราณจำนวนมาก ในลานวัดมีสวนหย่อมและสระน้ำที่เลี้ยงเต่าและปลาคาร์ปไว้ และยังมีโรงเรียนราคุนัน ซึ่งดำเนินการโดยทางวัดเอง นักเรียนจากที่นี่สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นจำนวนมาก
จากความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และความเป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณ องค์การยูเนสโกจึงขึ้นทะเบียนวัดโทให้เป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นๆในเมืองเกียวโต
ในวันที่ 21 ของทุกเดือน ในลานวัดจะมีการจัดเป็นตลาดนัด มีชื่อเรียกกันว่า โคโบะซัน (Kobo-san) เพื่อระลึกถึงพระโคโบะ ไดชิ ซึ่งมรณภาพในวันที่ 21 มีนาคม ตลาดนัดนี้จำหน่ายสินค้าจำพวกของเก่า ผลงานศิลปะ เสื้อผ้า เครื่องปั้นดินเผา อาหาร และของใช้มือสองต่างๆ ตลาดนัดครั้งที่ใหญ่ที่สุดจะจัดขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของปี
ในลานวัดโทจะมีจัดตลาดขายของเก่าที่มีขนาดเล็กกว่าโคโบะซัน โดยจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของแต่ละเดือน

เมืองควังจู

ควังจู (ชื่ออย่างเป็นทางการ มหานครควังจู; (เกาหลี광주광역시อังกฤษGwangju) เป็นเมืองใหญ่เป็นอับดับที่ 6 ของประเทศเกาหลีใต้ มีฐานะเป็นมหานครขึ้นโดยตรงกับกระทรวงมหาดไทย เมืองควังจูเคยเป็นเมืองหลวงของจังหวัดจอลลาใต้ จนกระทั่งศาลากลางจังหวัดได้ย้ายไปยังหมู่บ้านนามัค ในเมืองชนบทมูอัน ในปี 2548
ควัง (광, ฮันจา 光) หมายถึง "แสงสว่าง" และ จู (주, ฮันจา 州) หมายถึง "จังหวัด" พื้นที่ทิวทัศน์ที่สวยงามในพื้นที่รอบนอกของเมืองเป็นแหล่งกำเนิดของคาซา (gasa) ซึ่งเป็นรูปแบบกวีดั้งเดิมของเกาหลี พื้นที่ของเมืองตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่เพาะปลูกของภูมิภาคช็อลลา โดยเมืองมีชื่อเสียงเรื่องความอุดมสมบูรณ์และมีอาหารเกาหลีหลายอย่าง
จากบนซ้าย ตลาดโปจางมาชาในตอนกลางคืน, ถนนในเมืองควังจู, ภาพทิวทัศน์ของเมืองควังจู, พิพิธภัณฑ์พื้นเมืองควังจู, ระฆังยักษ์

ศาลเจ้ายะซะกะ

ศาลเจ้ายะซะกะ (ญี่ปุ่น八坂神社 ยะซะกะ-จินจะ ?) หรือ ศาลเจ้ากิอง (ญี่ปุ่น祇園神社 กิอง-จินจะ ?) เป็นศาลเจ้าชินโตในเขตกิองของนครเคียวโตะประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น
การก่อสร้างมีขึ้นในปี พ.ศ. 1199 ต่อมาครั้นต้นยุคเฮอัง ศาลเจ้ายะซะกะอยู่ภายใต้พระราชูปถัมภ์ขององค์จักรพรรดิ ใน พ.ศ. 1508 จักรพรรดิมุระกะมิ ทรงบัญชาให้มีการขึ้นบัญชีเหตุการณ์สำคัญของเทพารักษ์แผ่นดิน ซึ่งในบัญชีนี้ ในขั้นต้นกล่าวถึงศาลเจ้า 16 แห่ง [1] อีกยี่สิบหกปีให้หลังในปี พ.ศ. 1534 จักรพรรดิอิชิโจโปรดให้เพิ่มศาลเจ้าเข้าไปอีกสามแห่ง และสามปีต่อมาในปี พ.ศ. 1537 จักรพรรดิอิชิโจโปรดให้มีการกลั่นกรองรายชื่อและความเหมาะสมอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ได้เพิ่ม ศาลเจ้าอุเมะโนะมิยะ และ ศาลเจ้ากิอง เข้าไปในบัญชี[2]

วัดเบียวโด

วัดเบียวโด (ญี่ปุ่น平等院 Byōdō-in ?) ตั้งอยู่ในเมืองอุจิ จังหวัดเคียวโตะ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1541 ในสมัยเฮอัน อาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดในวัดคือ ศาลาหงส์ หรือศาลาอมิตาภะสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1596 เมื่อแรกเริ่มนั้นวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่พำนักในชนบทของฟุจิวาระ มิจินางวะ ต่อมาในปี พ.ศ. 1595 ฟุจิวาระ โยริมิจิ ผู้เป็นบุตรชาย ได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดพุทธ ปัจจุบันมีเพียงอาคารเดียวที่ยังคงหลงเหลือมาจากเมื่อครั้งแรกสร้าง คือ ศาลาหงส์ ซึ่งล้อมรอบไปด้วยสระน้ำ อาคารอื่น ๆ ถูกไฟไหม้จนหมดในระหว่างสงครามกลางเมืองในปี พ.ศ. 1879
อาคารหลักของวัดเบียวโดคือ ศาลาหงส์ ประกอบด้วยห้องโถงกลาง ขนาบข้างด้วยปีกระเบียงทั้งสองด้าน และระเบียงที่ด้านหลังศาลา ห้องโถงกลางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอมิตาภะ หลังคาของศาลามีรูปปั้นหงส์ตั้งอยู่
วัดเบียวโดได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของอนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์แห่งเมืองเคียวโตะ

วัดเท็นริว

ต้นยุคเฮอัง จักรพรรดิินีคะชิโกะ อัครมเหสีในจักรพรรดิซะงะ ได้ทรงสถาปนาวัดขึ้นแห่งหนึ่ง นามว่า วัดดันริง ขึ้นในบริเวณเดียวกับที่วัดเท็นรีวตั้งอยู่ในปัจจุบัน ผ่านไป 400 ปี วัดดันริงทรุดโทรมจนไม่สามารถตั้งอยู่ได้
กลางคริสศตวรรษที่ 13 จักรพรรดิโกะ-ซะงะ และพระราชโอรสคือจักรพรรดิคะเมะยะมะ ทรงเปลี่ยนให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นเขตพระราชฐาน และตั้งพระตำหนักไว้ ซึ่งเรียกว่า พระราชวังคะเมะยะมะ การที่ใช้ชื่อ คะเมะยะมะ (亀山) ที่มีความหมายว่า "ภูเขาเต่า" นั้น ก็เนื่องจากภูเขาโอะงุระที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของวัดเท็นรีวนั้น มีลักษณะเหมือนหลังเต่า
พระราชวังได้ถูกเปลี่ยนสภาพกลายเป็นวัด ในตอนต้นยุคมุโระมะชิ อันเนื่องมาจากบัญชาของโชกุน อะชิกะงะ ทะกะอุจิ ที่ต้องการจะใช้วัดเท็นรีวเป็นอนุสรณ์สถานต่อจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ ก่อนหน้านั้นทะกะอุจิ แข็งขืนต่อแผนปฎิรูปเค็มมุ ที่จักรพรรดิริเริ่มและมีพระราชโองการให้ตามล่าตัวตระกูลอะชิกะงะมารับโทษ อย่างไรก็ตามแผนการณ์นั้นล้มเหลวและทะกะอุจิได้ขึ้นเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1338 และจักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จสวรรคตในปีถัดมาที่หมู่บ้านโยะชิโนะ แม้จักรพรรดิโกะ-ไดโงะจะเป็นศัตรูของทะกะอุจิ แต่เมื่อก่อนทั้งสองก็เคยเป็นสหายรักกัน ทะกะอุจิจึงให้ มุโซ โซะเซะกิ ผู้เป็นนักบวชนิกายเซน ดำเนินการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่จักรพรรดิโกะ-ไดโงะ
ในตอนแรก วัดจะถูกตั้งชื่อว่า วัดเรียะกุโอ ชิเซเซ็น (暦応資聖禅寺 ?) ซึ่งเป็นนามรัชสมัยของจักรพรรดิในราชวงศ์เหนือขณะนั้น แต่เนื่องจาก ทะดะโยะชิ น้องชายของทะกะอุจิ ได้ฝันถึงมังกรทองที่กำลังบินผ่านแม่น้ำโออิ (อีกชื่อคือแม่น้ำโฮะซุ) ที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัด วัดจึงถูกตั้งชื่อว่า วัดเท็นรีว ที่แปลว่า วัดมังกรสวรรค์

Tenryuji Kyoto.jpg

เมืองแทงกู

แทกู (เกาหลี대구광역시อังกฤษDaegu) เป็นพื้นที่นครบาลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของเกาหลี เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของประเทศ[2][3] ด้วยจำนวนประชากรกว่าสองล้านห้าแสนคน แตกูยังเป็นศูนย์กลางการทอผ้าของประเทศ และเป็นเมืองที่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ในปี ค.ศ.2002 ตลอดจนเป็นศูนย์การค้าพืชสมุนไพรนานาชนิด โดยมีสถานพยาบาลแผนตะวันออกกว่า 300 แห่งที่ใช้สมุนไพรเหล่านี้ในการรักษา ตลอดจนมีร้านขายยาสมุนไพร และร้านปรุงสมุนไพรรวมอยู่ด้วย เมืองแทกูมีหอคอยที่มีความสูงชื่อ วูบัง ตั้งตระหง่านอยู่ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองนี้ได้เป็นอย่างดี ตลอดจนมีภูเขาพัลกงซาน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมือง[4]
สถานที่ในแทกู: ทิวทัศน์ของแทกู, วัดดองวาซา, ตลาดโซนัม, คังปุก และแทกูยูนิเวอร์ซิตี้ฮอลล์

วัดเซ็นโซ

วัดเซนโซ นี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระโพธิสัตว์คันนง ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ประมาณปี ค.ศ. 628 มีชาวประมง 2 พี่น้อง ชื่อว่า ฮิโนคุมะ ฮามานาริ และฮิโนคุมะ ทาเคนาริ ทุกวันจะออกหาปลาที่แม่น้ำสุมิดะ มีอยู่วันหนึ่ง วันนั้นทั้งวันจับปลาไม่ได้สักตัว จึงอธิษฐานขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้จับปลาได้สักตัว เพื่อกลับไปทานเป็นอาหารเย็น พอเหวี่ยงแหออกไป สิ่งที่ติดแหขึ้นมา กลับเป็นพระพุธรูปเจ้าแม่กวนอิมทองคำ สูง 5 นิ้ว จึงนำไปให้หัวหน้าหมู่บ้านของทั้งสองชื่อว่า ฮาจิโนะ นากาโมโตะ หัวหน้าหมู่บ้านได้ตระหนักถึงความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เจ้าแม่กวนอิม จึงได้เปลี่ยนแปลงบ้านของตนในอาซากุสะให้กลายเป็นวัดขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ เพื่อให้คนในหมู่บ้านมากราบไหว้บูชา ทั้งชาวบ้านและเหล่าซามูไรมักจะเดินทางมาขอพรจากเจ้าแม่กวนอิมเป็นประจำ และสิ่งที่ขอพรไปนั้นก็มักจะสมปรารถนาอยู่เสมอ ๆ ทำให้ชาวบ้านและเหล่าซามูไรมีความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ชื่อเสียงในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เจ้าแม่กวนอิมนี้ ได้แพร่กระจายไปทั่วญี่ปุ่น มีคนจากทั่วสารทิศเดินทางมาวัดอาซากุสะเพื่อสักการะองค์เจ้าแม่กวนอิม จนล่ำลือไปถึงท่านโชกุน ท่านโชกุนจึงได้ให้มีการสร้างอาคารหลังใหญ่ขึ้นในปี ค.ศ. 645 และต่อเติมส่วนต่าง ๆ เรื่อยมาอย่างที่เห็นในปัจจุบันนั้น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองปี ค.ศ. 1945 อาคารส่วนใหญ่ของวัดอาซากุสะ ได้รับความเสียหายจากการถูกทิ้งระเบิด และถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในภายหลัง ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่และความสงบสุขให้กับคนญี่ปุ่น

เมืองคย็องจู

  1. คย็องจู
    เมือง ใน ประเทศเกาหลีใต้
  2. คย็องจู เป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญในประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 269,343 คนและมีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกาหลี อย่างมาก เนื่องจากเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซิลลาและอาณาจักรรวมซิลลา วิกิพีเดีย
  3. พื้นที่1,324 ตร.กม.
  4. เวลาท้องถิ่นวันพฤหัสบดี 14:21

วัดไทโด

ประวัติเมื่อครั้งแรกเริ่มสร้าง[แก้]

ในสมัยเทมเปียว มีผู้ประสบภัยจากภัยธรรมชาติและโรคระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 1286 จักรพรรดิโชมุได้ทรงประกาศว่า ประชาชนควรจะร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อปกป้องตนเองจากภัยพิบัติ เนื่องจากทรงมีความเชื่อว่าพระพุทธรูปจะช่วยคุ้มครองประชาชนได้ ตามบันทึกที่เก็บรักษาอยู่ในวัดโทไดได้กล่าวว่า มีคนมาช่วยสร้างพระพุทธรูปและหอที่ประดิษฐานมากกว่า 2,600,000 คน การสร้างพระพุทธรูปเริ่มต้นครั้งแรกที่เมืองชิงะระกิ แต่หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้และแผ่นดินไหวจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ก็ได้ย้ายสถานที่สร้างมายังเมืองนะระใน พ.ศ. 1288 และสร้างเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 1294 ต่อมาใน พ.ศ. 1295 ได้มีการจัดพิธีเบิกพระเนตรเพื่อฉลองพระพุทธรูปองค์ใหม่ โดยมีพระภิกษุชาวอินเดียชื่อว่าพระโพธิเสนะ เป็นผู้ประกอบพิธี ตามบันทึกมีผู้มาร่วมพิธีราว 10,000 คน หลังจากนั้นจักรพรรดิโชมุได้ทรงประกาศให้วัดโทไดเป็นวัดประจำจังหวัดยะมะโตะ และเป็นศูนย์กลางของวัดทั่วอาณาจักร

การก่อสร้างขึ้นใหม่หลังสมัยนะระ[แก้]

พระพุทธรูปไดบุสึถูกสร้างขึ้นใหม่หลายครั้งโดยเหตุผลต่างๆกัน รวมทั้งความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว และมีการสร้างขึ้นใหม่ 2 ครั้งที่มีสาเหตุจากเหตุเพลิงไหม้ โดยพระหัตถ์ทั้งสองข้างที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นในสมัยโมะโมะยะมะ(พ.ศ. 2111-2158) พระเศียรในปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2158-2410) และหอที่ประดิษฐานในปัจจุบันนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2252 โดยมีขนาดเล็กกว่าอาคารหลังเดิมราว 30% เดิมทีในบริเวณวัดจะมีเจดีย์สูง 100 เมตรอยู่คู่หนึ่ง ซึ่งจัดว่าเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกในยุคหลังจากการสร้างพีระมิด แต่ได้พังทลายลงเนื่องจากแผ่นดินไหว